ปั๊มน้ำมีกี่ประเภท วิธีเลือกใช้ปั๊มน้ำให้เหมาะกับงาน ไม่ต้องเสียใจภายหลัง!

เครื่องสูบน้ำ หรือปั๊มน้ำ (Water pump) อุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมากทั้งภาคอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ บ้านเรือนและเกษตรกรรมโดยมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งาน โดยปั๊มน้ำมีทำหน้าที่ส่ง หรือถ่ายของเหลวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งตามกลไกการทำงานของระบบ เมื่อใช้งานไปสักระยะอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น การรั่วไหล การฟุ่มเฟือยของพลังงาน ดังนั้น ก่อนจะซื้อปั๊มน้ำสักตัวเราควรจะรู้จักถึงประเภท การนำไปใช้งานและการติดตั้ง ตลอดจนการซ่อมบำรุงซึ่งได้รวบรวมข้อมูลไว้ในบทความให้คุณผู้อ่าน โดยเริ่มกันที่ 

1. ปั๊มน้ำมีกี่ประเภท




มาดูกันสิว่าปั๊มน้ำมีกี่ประเภทซึ่งเราได้แบ่งประเภทย่อย ๆ ของปั๊มน้ำออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. Centrifuse pump หรือที่หลายคนรู้จักกันว่า “ปั๊มหอยโข่ง” ซึ่งเป็นปั๊มที่สามารถใช้งานได้แทบทุกประเภททั้งเพื่อสูบน้ำเพื่อใช้บริโภค ระบายน้ำเสียตามชลประทานและการส่งสารเคมีไปตามกระบวนการผลิต
  2. Rotary pump เป็นปั๊มประเภทเพิ่มพลังงานของของเหลวโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลางเพื่อตัก หรือตวงของเหลวโดยนิยมนำไปใช้กับอาหารเหลวที่มีความหนืดสูง หรือการขนถ่ายแบบนุ่มนวล อาทิ นม โยเกิร์ตซึ่งต้องเป็นโรตารี่แบบ Hygenic pump ที่ทำความสะอาดง่ายและวัสดุที่ใช้ต้องไม่อันตรายเมื่อสัมผัสกับอาหาร
  3. Reciprocating Pump เป็นปั๊มเลื่อนชัก หรือปั๊มลูกสูบเป็นปั๊มที่มีลักษณะเลื่อนกลับไปกลับมา โดยมีลูกสูบทำหน้าที่อัดของไหลภายในกระบอกสูบให้มีความดันสูงขึ้น ตามหลักการทำงานแบบกลับไปกลับมาซึ่งเหมาะกับการสูบในปริมาณที่ไม่มากนักโดยต้องมีความสะอาดเพียงพอ ไม่ให้เคลื่อนที่ไปกระทบชิ้นส่วนอื่น ๆ ให้เกิดการสึกหรอเร็วขึ้น
  4. Specialized pumps จะเป็นปั๊มแบบพิเศษที่มีลักษณะแตกต่างออกไปจากปั๊มอื่น ๆ ดังนี้
  • ปั๊มพิเศษ Canned เป็นปั๊มที่มีคุณสมบัติพิเศษป้องกันการการรั่วไหลของของไหลได้อย่างสมบูรณ์
  • ปั๊มพิเศษ Turbo เป็นปั๊มที่นำเอากังหันไอน้ำ (Stream turbine) ที่นิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการความดันปล่อยสูงทั้งแบบหนึ่ง หรือสองสเตจ
  • ปั๊มพิเศษ Cantilever ปั๊มที่นิยมติดตั้งแนวดิ่งที่ไม่ต้องการชุดแบริ่ง เนื่องจากปั๊มได้ออกแบบชุดใบพัดยึดติดกับเพลาขับแบบไม่มีแบริ่ง
  • ปั๊มพิเศษ Venticle turbine มักนิยมนำมาใช้งานสูบน้ำบาดาลที่มีความลึกมาก ๆ จึงมีหลายเสตจในเพลาขับเดียวกัน ซึ่งสามารถสูบน้ำจากก้นบ่อที่มีความลึกมากมาสู่ปากบ่อบนพื้นดินได้

ก็คงทราบกันไปแล้วว่าปั๊มน้ำมีกี่ประเภทและทั้ง 4 ประเภทก็มีความแตกต่างในการนำไปใช้งานทั้งปั๊มหอยโข่งที่นิยมนำไปใช้งานแทบทุกประเภท ปั๊มโรตารีที่เหมาะกับการขนถ่ายของเหลว หรืออาหารที่มีความหนืดสูง ปั๊มลูกสูบที่เหมาะกับการสูบในปริมาณที่ไม่มากนักและต้องสะอาด ทิ้งท้ายด้วยปั๊มแบบพิเศษที่มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างไปจากประเภทที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การป้องกันการรั่วไหล สูบน้ำได้ลึกมาก ๆ หรือแบบกังหันไอน้ำ เป็นต้น

2. ข้อดี – ข้อเสียในการใช้งานของปั๊มแต่ละประเภท

ปั๊มน้ำมีกี่ประเภทควรเลือกปั๊มน้ำแบบไหน ปั๊มน้ำเอบาร่า EBARA รุ่น : CDXM 70/05 ( ไฟ 1 เฟส / 220 โวลต์)

เมื่อรู้กันไปแล้วว่าปั๊มน้ำมีกี่ประเภท มาดูกันต่อสิว่าแต่ละประเภทนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรกันบ้าง

รายละเอียดข้อดีข้อดี
Centrifuse pump
  • ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
  • ราคาประหยัด
  • คุรองรับการไหลได้มาก
  • ไม่รองรับของเหลวหนืด
  • ไม่รองรับระบบที่มีแรงดันสูง (High pressure)
Rotary pump
  • ใช้กับของเหลวที่มีความหนืดได้
  • มีหลายประเภททั้งแบบเกียร์ ใบกวาดและแบบลอน
  • มีอัตราการไหลต่อเนื่องตลอดเวลา
  • อัตราการสูบต่ำกว่าปั๊มประเภทอื่น ๆ
Reciprocating Pump
  • รับความดันในการปล่อยได้ในอัตราสูงมาก
  • สมรรถนะเครื่องสูบไม่เปลี่ยนแปลง
  • สูบของเหลวได้ในปริมาณที่ไม่มากนัก
  • ต้องการความสะอาดจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ
  • การไหลไม่ค่อยเสถียร
Specialized pumps
  • มีความพิเศษกว่าปั๊มประเภทอื่น ๆ
  • ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งาน
  • ราคาค่อนข้างสูง
  • การดูแลรักษาค่อนข้างซับซ้อน

3. เลือกปั๊มน้ำอย่างไรไม่ให้เสียใจภายหลัง

สังเกตเห็นได้ว่าปั๊มน้ำนั้นมีหลายประเภทและมีความแตกต่างตามการใช้งาน จึงจำเป็นที่เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เคล็ดลับในการเลือกซื้อปั๊มน้ำ เพื่อช่วยให้ได้ปั๊มน้ำคุณภาพดี ทนทานและใช้งานได้อย่างยาวนานซึ่งจะมีปัจจัยใดบ้าง มาดูกัน

  • เตรียมพื้นที่ สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือการเตรียมพื้นที่และการกำหนดจุดติดตั้งโดยควรวางปั๊มน้ำตั้งห่างจากกำแพงประมาณ 15 cm เพื่อมีพื้นที่ระบายความร้อน และเข้าไปดูแลบำรุงรักษาได้ง่าย อีกทั้งไม่ควรวางใกล้ห้องนอน เนื่องจากปั๊มน้ำทำงานมีเสียงดังและมีแรงสั่นสะเทือนรบกวน
  • ถังเก็บน้ำ ของมันต้องมี เพราะเป็นสิ่งจำเป็นของปั๊มน้ำที่ต้องต่อท่อประปาจ่ายน้ำเข้าไปในถังเก็บน้ำ แล้วจึงต่อปั๊มน้ำเข้ากับถังเก็บน้ำ โดยข้อกำหนดสำคัญคือห้ามต่อเครื่องสูบน้ำเข้ากับท่อประปาโดยตรง (มีความผิดตามข้อบังคับ กปน. ฉบับที่ 26)
    วิธีการคำนวณถังเก็บน้ำ กรณีที่พักอาศัยจะใช้น้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 200 ลิตรต่อคน (สำรองใช้ 1 วัน)  ตย. หากครอบครัวมีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 5 คนจะต้องใช้ถังเก็บน้ำขนาดเท่าไร วิธีคิด นำ 5 คน * 200 ลิตร * 3 วัน (สำรองน้ำฉุกเฉิน)  = 3000 ลิตร ดังนั้น ควรเลือกถังเก็บน้ำขนาด 3,000 ลิตร
  • กำลังวัตต์ ควรเลือกปั๊มน้ำที่มีแรง หรือกำลังวัตต์สูง ๆ จะดีกว่าแต่ทั้งนี้ก็ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อวัน จุดใช้น้ำกี่จุด ช่วงเวลาที่ใช้บ่อยสุดพร้อม ๆ กันและระดับความสูงของอาคาร
  • วัสดุที่ใช้ เนื่องจากปั๊มน้ำส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งไว้ระดับพื้นจึงมักจะได้รับผลกระทบจากแสงแดด ลม ฝนเป็นประจำซึ่งหากเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพอาจเกิดรอยแตก รอยรั่วซึมได้ง่าย ดังนั้น จึงควรเลือกปั๊มน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดสนิม ทนทุกสภาพอากาศและควรระบายความร้อนได้ดี
  • ระบบตรวจสอบความผิดปกติ เพื่อช่วยเตือนเมื่อระบบการทำงานเกิดข้อผิดพลาด อาทิ น้ำแห้ง หรือน้ำขาด ท่อรั่ว วาล์วปิดน้ำไม่สนิทโดยจะมีการแจ้งเตือนของระบบเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยและแจ้งแก่ผู้ใช้งานทราบถึงปัญหาเพื่อแก้ไขเบื้องต้นได้ทันที
  • เสียงเงียบ เนื่องจากปั๊มน้ำปกติจะมีเสียงดังต่อเนื่องตลอดเวลาประมาณ 50 – 60 เดซิเบล ซึ่งถือเป็นเสียงรบกวนกระทบสุขภาพจิตของคนในครอบครัวและเพื่อนบ้าน จึงควรมองหาปั๊มน้ำสมัยที่ออกแบบมาเพื่อลดเสียงรบกวน (ระบบ Inverter) นอกจากเสียงจะเงียบลงยังช่วยประหยัดค่าไฟอีกด้วย

ปั๊มน้ำแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียยังไง

สำหรับคุณผู้อ่านที่กำลังมองหาปั๊มน้ำดี ๆ สักตัวก็คงได้ความรู้เบื้องต้นกันไปแล้วว่าปั๊มน้ำมีกี่ประเภท การใช้งานแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรและมีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรพิจารณาเมื่อต้องเลือกซื้อปั๊มน้ำ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณได้ปั๊มน้ำตรงตามความต้องการ ประสิทธิภาพดีและมีอายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งยังคุ้มราคา โดยสามารถเลือกซื้อปั๊มน้ำที่มีมาตรฐานได้รับการรับรองการันตีด้วยลูกชั้นนำมากมาย พร้อมโปรเด็ดๆ ลดแบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลได้ที่  iconservice