ถังพักลม หรือ Air tank คืออะไร? - มีขนาดไหนบ้าง?

แน่นอนว่าหากพูดถึงสินค้าจำเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดย่อม สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือ ถังพักลม นั่นเอง ซึ่ง ถังพักลม นั้นก็มีหลายขนาดแตกต่างกันไป แล้วแต่การใช้งานของแต่ละโรงงาน ส่วนราคาถังพักลมก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวถังด้วยเช่นกัน ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักเจ้าถังเก็บลมให้มากขึ้น รวมถึงราคาของแต่ละขนาดเพื่อเป็นตัวช่วยตัดสินใจให้กับใครที่สนใจจะหาซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่ ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลยครับ


ถังพักลม หรือ Air tank ยี่ห้อไหนดี

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่าสินค้าตัวนี้มันคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ถังเก็บลมเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การจ่ายลมอัดไปยังสายงานต่าง ๆ ในโรงงานทำได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยรักษาความดันในระบบให้คงที่ และที่สำคัญอุปกรณ์ตัวนี้ยังเป็นที่กักเก็บลมซึ่งออกมาจากเครื่องปั๊มลมหรือคอมเพรสเซอร์ จากนั้นจึงจ่ายลมออกไปตามท่อด้วยความดันคงที่ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่หนักจนเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้กระบวนการอัดอากาศยังทำให้เกิดไอร้อนขึ้น และตัวถังพักอากาศนี้เองก็สามารถช่วยระบายไอร้อนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้อุณหภูมิภายในลดลง อีกทั้งเมื่อมีการกลั่นตัวของหยดน้ำของลมอัด ถังเก็บลมก็สามารถดักไว้ได้

ในเรื่องของวัสดุที่ใช้ทำนั้นจะผลิตมาจากแผ่นเหล็กหลายแผ่นที่นำมาเชื่อมต่อกัน จึงมีความแข็งแรงและทนทานต่อแรงกระแทกและแรงดันที่เกิดจากการอัดของลูกสูบได้อย่างดี แถมยังราคาไม่แพงอีกด้วย

สำหรับการติดตั้ง Air tank นั้น สามารถติดตั้งได้ 2 แบบ คือ การวางแบบแนวตั้งและการวางแบบแนวนอน ข้อสำคัญคือต้องตั้งไว้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ควรติดตั้งพร้อมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ Safty Valve หรือวาล์วป้องกันอันตราย, Pressure Gauge หรือเกจวัดแรงดัน และ Auto Drain หรือตัวระบายน้ำอัตโนมัติ


ถังพักลม เลือกแบบไหนเหมาะกับการใช้งาน

ส่วนขนาดของถังเก็บลมก็มีหลากหลายขนาดด้วยกัน ซึ่งเราสามารถคำนวณขนาดที่เหมาะสมได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ปริมาณลมที่เครื่องปั๊มลมผลิตได้ใน 1 วินาทีมาคูณกับ 8 ก็จะได้ปริมาณความจุของถังเก็บลมที่พอดี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ควรเพิ่มขนาดความจุไปอีก 30% เพื่อให้ได้ขนาดตัวถังที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยทางบริษัทไอคอนเซอร์วิสของเราก็มีถังพักลมให้ลูกค้าเลือกมากมายหลายขนาด และแต่ละขนาดก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้


AIR TANK 800 Litrees ถังเก็บลม 800 ลิตร

  • ถังเก็บลมขนาด 50 ลิตร ราคา 4,000 บาทและถังเก็บลม 60 ลิตร ราคา 4,500 บาท เป็นถังที่เหมาะสำหรับใช้เติมลมตามศูนย์บริการและปั๊มน้ำมัน
  • ถังเก็บลมขนาด 200 ลิตร ราคา 24,500 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 300 ลิตร ราคา 28,000 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 500 ลิตร ราคา 34,500 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 800 ลิตร ราคา 33,000 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 1,000 ลิตร ราคา 50,000 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 1,500 ลิตร ราคา 76,500 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 2,000 ลิตร ราคา 96,500 บาท,
  • ถังเก็บลมขนาด 3,000 ลิตร ราคา 136,000 บาท
  • ถังเก็บลมขนาด 5,000 ลิตร ราคา 234,000 บาท

หากเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมาก็จะเหมาะกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นโรงงานใหญ่หรือเล็ก อีกทั้งถังเก็บลมทุกตัวยังทำจากเหล็กคุณภาพดี เคลือบสาร Epoxy ไว้ภายในเพื่อป้องกันการเกิดสนิม ส่วนภายนอกก็มีการทาด้วยสีกันสนิมอีกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมครบชุดทั้ง Safty Valve, Pressure Gauge และ Auto Drain รับรองได้ว่าลูกค้าทุกท่านที่ซื้อสินค้าจากบริษัทของเราจะหมดกังวลเรื่องปัญหากวนใจอย่างแน่นอน 


AIR TANK  Litrees ถังเก็บลม 50 ลิตร

มาดูเรื่องการดูแลรักษากันบ้างดีกว่าครับ ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หมั่นระบายน้ำออกจากถังพักลมอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความชื้นของน้ำจะเข้าไปในระบบทำให้รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ได้ เมื่อระบายน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรหาผ้ามาเช็ดทำความสะอาดตรงรูระบายน้ำ และตรวจสอบอะไหล่ตัวอื่น ๆ ว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน


มาถึงส่วนสุดท้ายแล้ว คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนคงเข้าใจการทำงานของถังพักลมหรือ Air tank กันมากขึ้นนะครับ รวมถึงคลายข้อสงสัยของคุณลูกค้าด้วยเกี่ยวกับราคาของสินค้าชนิดนี้ และหวังว่าบทความนี้คงเป็นแนวทางในการเลือกซื้อได้ไม่มากก็น้อย หากใครกำลังมองหาสินค้าตัวนี้อยู่สามารถติดต่อมาได้ที่ iconservice เลยนะครับ ร้านของเรารวบรวมสินค้าที่ได้มาตรฐานมากมายพร้อมโปรโมชั่นเด็ด ๆ อีกเพียบ หรือจะมาปรึกษาเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ทางเราก็มีผู้เชี่ยวชาญคอยบริการลูกค้าทุกท่านอยู่เสมอครับ

facebook

บทความแนะนำ

สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังมองหา ปั๊มลมราคาถูก เลือกซื้อร้านไหนดี? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมกับวิธีติดตั้งปั๊มลมด้วยตนเอง!