หากพูดถึง เครื่องทำลมแห้ง หรือ AIR DRYER หลายคนอาจจะไม่รู้จักว่าเครื่องทำลมแห้ง คืออะไร เครื่องทำลมแห้ง มีกี่ประเภท ทำหน้าที่อะไร และใช้หลักการทำงานอย่างไร รวมถึงเครื่องทำลมแห้ง ราคาเท่าไหร่ มียี่ห้อไหนน่าใช้บ้าง รวมถึงจะเลือกซื้ออย่างไรจึงจะเหมาะสม บทความนี้เราเลยรวบรวมเอาข้อมูลของเจ้าอุปกรณ์ที่เรียกว่า AIR DRYERAIR DRYER นี้มาให้คุณได้รู้จักกันมากขึ้น
1. เครื่องทำลมแห้ง คืออะไร? ใช้หลักการทำงานแบบไหน?
เครื่องทำลมแห้ง เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้กับตัว Air Compressor ของเครื่องปั๊มลม ซึ่งประโยชน์ของเจ้าเครื่องนี้ก็คือจะช่วยลดระดับความชื้นและปริมาณของน้ำในระบบลม ผลที่ได้ก็คือทำให้ลมที่เราจะนำมาใช้นั้นบริสุทธิ์และสามารถนำใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำหรับหลักการทำงานของ AIR DRYER อธิบายง่ายๆ ก็คือ ปกติแล้ว ตัวกรองลมที่เราใช้งานกันอยู่โดยทั่วไปที่มากับปั๊มลมนั้น จะไม่สามารถกรองความชื้นหรือว่าน้ำในระบบลมได้ จึงต้องอาศัยตัวช่วยอย่างเจ้า เครื่องทำลมแห้งนี้ ในการนำความชื้นและน้ำออกจากระบบลมเพื่อให้ได้ลมที่บริสุทธิ์ปราศจากความชื้น เมื่อนำไปใช้งานก็จะไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
1. เครื่องทำลมแห้ง มีกี่ประเภท
เราได้ทราบถึงหลักการทำงานของเครื่อง เครื่องทำลมแห้ง กันไปแล้วว่าหน้าที่หลักก็คือช่วยเพิ่มความบริสุทธิ์ให้กับลมที่เราจะนำมาใช้ ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของ AIR DRYER นั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ
- Refrigerated Air Dryer เป็นเครื่องทำลมแห้งที่ใช้น้ำยาทำความเย็น มี Dew Point (จุดทำความเย็น) อยู่ที่ราว 2-10 องศาเซลเซียส โดยสามารถกำจัดน้ำออกจากลมได้ประมาณ 96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้ำยาทำความเย็นที่ใส่มาจะทำให้ความชื้นเปลี่ยนเป็นหยดน้ำก่อนที่จะระบายออกไปจากระบบลม โดย Refrigerated Air Dryer นั้นจะเหมาะกับการใช้งานลมที่แห้งแต่ความสะอาดไม่ต้องถึงขั้นบริสุทธิ์มากนัก ราคาไม่สูงมาก การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากจนเกินไป
- Desiccant Air Dryer เป็นเครื่องทำลมแห้งที่ใช้เม็ดสารดูดความชื้น มี Dew Point (จุดทำความเย็น) อยู่ที่ราว -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส จุดเด่นก็คือตัวเม็ดสารดูดความชื้นจะช่วยให้ได้ลมที่แห้งและบริสุทธิ์มากเป็นพิเศษ มักมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาหรืออาหารที่ต้องการความสะอาดสูง อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Desiccant Air Dryer นั้นมักมีการติดตั้งระบบระบายความร้อนมาในตัวทำให้หากเทียบกันแล้วค่อนข้างสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าแบบแรกราว 15-20 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน
2. วิธีเลือกเครื่องทำลมแห้ง
อ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าน่าจะช่วยให้คุณรู้จักกับเครื่องทำลมแห้งมากขึ้น คำถามคือแล้วจะเลือกซื้ออย่างไรจึงจะเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งหลักการเบื้องต้นที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกได้ก็คือ
- พิจารณาจากคุณสมบัติของตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นชิ้นของตัวเครื่องที่มีความแข็งแรงทนทาน งานประกอบแน่นหนา สามารถทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานได้แบบที่เครื่องไม่ร้อนจนเกินไป สามารถให้ลมที่บริสุทธิ์ รวมถึงทนต่อการใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงๆ ได้ดี
- เลือกขนาดของเครื่องทำลมแห้งให้เหมาะสมกับเครื่องปั๊มลม ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือหากใหญ่เกินไปก็อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่ถ้าเล็กเกินไปก็อาจทำให้เครื่องต้องทำงานหนักรวมถึงได้ลมที่ไม่บริสุทธิ์ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังควรเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของอุตสาหกรรมด้วย เช่นหากเป็นอุตสาหกรรมอาหารก็คงควรเลือกแบบ Desiccant Air Dryer เป็นต้น
- เลือกซื้อเครื่องทำลมแห้งจากยี่ห้อ และร้านค้าที่วางใจได้ เพราะจะช่วยให้เราอุ่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพ ใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่าเงิน ซึ่งหากเป็นยี่ห้อหรือร้านที่ได้มาตรฐานมักจะมาพร้อมกับการบริการหลังการขายที่ช่วยให้เราไม่ต้องมาคอยปวดหัวกับการซ่อมแซมหรือหาอะไหล่มาเปลี่ยนในกรณีที่เกิดการชำรุดระหว่างการใช้งาน
คำแนะนำ
หากมีลูกค้าคนไหนสนใจ เครื่องทำลมแห้ง หรือAir Dryer ควรเลือกใช้ที่ได้คุณภาพและตรงตามการใช้งาน iconservice เรามีให้เลือกมากมายหลายแบบ เหมาะสำหรับงานทุกประเภท
3. เครื่องทำลมแห้ง ราคาเท่าไหร่ มียี่ห้อไหนน่าใช้บ้าง
ใครกำลังมองหา เครื่องทำลมแห้ง เอาไว้ใช้งานแต่ยังไม่มีไอเดียว่าจะเลือกซื้อรุ่นไหน ยี่ห้อใด เรามีมาแนะนำพร้อมให้คุณเปรียบเทียบราคากัน
1. AIR DRYER DTM Model: DTM204 ราคาประมาณ 56,000 บาท
เริ่มต้นกันด้วย AIR DRYER DTM Model: DTM204 รุ่นนี้มากับจุดน้ำค้างแข็ง 2-10 องศาเซลเซียส มีอัตราการไหล 2.9 m³/min (102 CFM) ใช้น้ำยาทำความเย็น R134A มีขนาดท่ออยู่ที่ 1 นิ้ว เกลียว PT กำลังไฟ 230 โวลต์, 1 เฟส, 50 Hertz, 0.31 กิโลวัตต์ ขนาดตัวเครื่องอยู่ที่ 500 x 600 x 600 มิลลิเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) สินค้ารับประกันสินค้า 1 ปี
2. AIR DRYER JMEC รุ่น J2E-15GP ราคาประมาณ 65,800 บาท
มาต่อกันด้วย AIR DRYER JMEC รุ่น J2E-15GP รุ่นนี้เหมาะสำหรับปั๊มลมขนาด 15 แรงม้า กำลังไฟ 220 โวลต์, 1 เฟส, 50 Hertz, 0.31 กิโลวัตต์ ให้อัตราการไหล 2.40 m³/min จุดน้ำค้างแข็งอยู่ที่ 2-10 องศาเซลเซียส ขนาดท่อ 3/4 นิ้ว เกลียว PT รับประกันสินค้าให้นาน 1 ปี
3. AIR DRYER ORION Model : ARX-50J ราคาประมาณ 87,000 บาท
ขยับมาที่ AIR DRYER ORION Model : ARX-50J ที่มาพร้อมมอเตอร์ 1.7 กิโลวัตต์, 1 เฟส, 380 โวลต์ เป็นเครื่องทำลมแห้งแบบลมขาเข้าอุณหภูมิสูง จุดน้ำค้างแข็งอยู่ที่ 3-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิขาเข้า 10-50 องศาเซลเซียส ใช้น้ำยา R410A แรงดันการใช้งาน 2-9.8 บาร์ ความสามารถ 6,400 ลิตร ต่อ นาที ภาพรวมถือว่ามากับความคุ้มค่าน่าใช้งาน
4. AIR DRYER D.I.T. รุ่น CDK-75SA ราคาประมาณ 135,000 บาท
ใครหาประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม AIR DRYER D.I.T. รุ่น CDK-75SA เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมากับท่อขนาด 2 นิ้ว เกลียว PT มิติตัวเครื่อง กว้าง 451 ยาว 1190 สูง 882 มิลลิเมตร น้ำหนัก 135 กิโลกรัม กำลังไฟ ไฟ 220 โวลต์, 1 เฟส, 50 Hertz, 2.25 กิโลวัตต์ ใช้น้ำยา R407C จุดน้ำค้างแข็งอยู่ที่ 2-10 องศาเซลเซียส มีอัตราการไหล 11.00 m³/min (388 CFM) แรงดันลม 16 บาร์ สินค้ารับประกันนาน 1 ปี
5. AIR DRYER M Plus รุ่น MAC120-T ราคาประมาณ 220,000 บาท
ส่งท้ายเครื่องทำลมแห้งน่าใช้กันด้วย AIR DRYER M Plus รุ่น MAC120-T มาพร้อมกำลังไฟ 220 โวลต์, 1 เฟส, 50 Hertz, 2.25 กิโลวัตต์ แรงดันลม 16 บาร์ อัตราการไหล 11.00 m³/min (388 CFM) ใช้น้ำยา R407C มีจุดน้ำค้างแข็งที่ 2-10 องศาเซลเซียส มิติตัวเครื่อง กว้าง 451 ยาว 1190 สูง 882 มิลลิเมตร น้ำหนัก 135 กิโลกรัม รับประกันสินค้าให้นาน 1 ปี
จะเห็นว่าเครื่องทำลมแห้งแต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกันออกไป หรือหากทั้ง 5 รุ่นนี้ยังไม่ถูกใจ บริษัท ไอคอนเซอร์วิส จำกัด ของเรายังมี เครื่องทำลมแห้ง อีกหลากรุ่นหลายราคาจากแบรนด์ชั้นนำให้คุณได้เลือกใช้งานตามความต้องการและงบประมาณ วางใจได้ในบริการทั้งก่อนและหลังการขาย ด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 15 ปี สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางการติดต่อบนหน้าเว็บไซต์ของเราในทุกช่องทางครับ
บทความแนะนำ
ข้อควรระวังการใช้งาน เครื่องกําเนิดไฟฟ้า อย่างถูกวิธี? พร้อมบอกแนวทางการใช้งานที่ถูกต้อง! บทความนี้มีคำตอบ