การบำรุงรักษาปั๊มน้ำ และ การตรวจสอบ เพื่อให้ปั๊มมีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่ต้องหยุดทำงานเพื่อซ่อมแซมบ่อยครั้ง ปั๊มทุกเครื่องควรมีสมุดประวัติการใช้งานและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ ตลอดจนมีตารางเวลาสำหรับตรวจสอบและบำรุงรักษาที่แน่นอน การตรวจสอบและบำรุงรักษาอาจแบ่งออกเป็นการตรวจสอบประจำวัน การตรวจสอบทุก 6 เดือน การตรวจสอบประจำปี

การบำรุงรักษาปั๊มน้ำ

การบำรุงรักษาปั๊มน้ำ และ การตรวจสอบตามกำหนดเวลาต่างๆ มีดังต่อไปนี้

 ก. การตรวจสอบและบำรุงรักษาประจำวัน มีดังนี้

  1. อุณหภูมิของรองลื่น
  2. ความดันทางท่อดูดและท่อจ่าย
  3. การรั่วจากกันรั่ว(Seal)
  4. การหล่อลื่นกันรั่วโดยดูจากหลอดแก้ว หรือตัวชี้อื่นๆ
  5. โหลด(Load)ของมอเตอร์ไฟฟ้า
  6. ระดับเสียงและการสั่นสะเทือน
  7. ระดับน้ำมันหล่อลื่นที่มาเลี้ยงรองลื่น

ข. การตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก 6 เดือน มีดังนี้

  1. การได้ศูนย์ระหว่างปั๊ม และต้นกำลัง
  2. การเติมน้ำมัน หรือจารบีให้กับรองลื่น
  3. ตรวจรอยรั่วท่อทางดูด

ค. การตรวจสอบและบำรุงรักษาประจำปี มีดังนี้

  1. การรั่วตามเพลาและการซ่อมบำรุงกันรั่ว
  2. การสึกของปลอกเพลา
  3. ช่องว่างระหว่างใบพัดกับแหวนกันสึก
  4. ทดสอบและปรับแก้เกจ์วัดต่างๆ ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
  5. การเปลี่ยนน้ำมันล่อลื่นและจารบีรองลื่น

***หมายเหตุ; เนื่องจากรายละเอียดของวิธีการตรวจสอบ และการซ่อมบำรุงจะแตกต่างกันไปตามชนิดของปั๊มและบริษัทผู้ผลิต ดังนั้น ควรศึกษาจากคู่มือผู้ใช้สำหรับปั๊มนั้นๆ***

การแก้ปัญหา

คำเตือน

ก่อนทำการเปิดตัวปั้ม หรือ ทำการซ่อมแซมควรปฏิบัติตามนี้

– ศึกษารายละเอียด และขั้นตอนในหนังสือคู่มืออย่างละเอียด

– ตรวจสอบว่าชุดต้นกำลังขับได้ถอดออกเรียบร้อยแล้ว

– ปล่อยให้ปั๊มเย็นตัวก่อนถ้าเกิด Over Heat

– ปิด ท่อดูดและท่อส่งน้ำ

– ตรวจสอบอุณหภูมิก่อนจะเปิดฝาครอบ และชิ้นส่วนต่างๆ

– ปล่อยน้ำออกจากปั๊ม

ปัญหาสาเหตุวิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้
ปั๊มไม่สามารถทำการสูบน้ำได้– มีรอยรั่วที่สายดูด
– สายดูดขาดหรือเสียหาย– ซีลหรือประเก็นรั่วหรือฉีกขาด- ซ่อมแซมรอยรั่ว– เปลี่ยนสายดูดใหม่– ตรวจสอบระดับสุญญากาศ อาจต้องเปลี่ยนซีลหรือประเก็นปั๊มหยุดทำงานหรือแรงดันในการส่งน้ำลดลง- มีอากาศเข้าบริเวณสายดูด (รั่ว) – สายดูดขาดหรือเสียหาย– ใบพัดหรือชิ้นส่วนอื่นสึกหรอ และเสียหาย – ใบพัดปั๊มอุดตัน– ปั๊มหมุนที่ความเร็วต่ำไป – ตัวกรองอุดตัน – เกิดรอยรั่ว หรือซีลฉีกขาดหรือประเก็นปั๊มรั่ว- ซ่อมแซมรอยรั่ว– เปลี่ยนสายดูด– เปลี่ยนส่วนที่เสียหายฉีกขาด ตรวจสอบใบพัดปั๊มว่าได้ศูนย์และหมุนได้อิสระหรือไม่– เอาเศษสิ่งสกปรกออกจากใบพัด– ตรวจสอบชุดต้นกำลังขับ และตัวส่งถ่ายกำลัง– ตรวจสอบตัวกรองและทำ ความสะอาดถ้าจำเป็น– ตรวจสอบแรงสูญญากาศของปั๊มเปลี่ยนส่วนที่รั่ว
ปั๊มใช้กำลังมากกว่าปกติ– ใบพัดหมุนเร็วผิดปกติ
– ความดันด้านจ่ายต่ำเกิน– ของเหลวที่สูบถ่ายเข้มข้นเกิน- ตรวจสอบรอบตัวส่งกำลัง– ปรับวาล์วทางส่งน้ำ– เจือจางของเหลวที่สูบถ่ายปั๊มอุดตันบ่อย- ของเหลวที่สูบจ่ายเข้มข้นเกิน– อัตราส่งน้ำออกช้ามาก – เช็ควาล์วท่อดูดอุดตัน- เจือจางของเหลวที่จะสูบจ่าย– เปิดวาล์วส่งเต็มที่เพื่อเพิ่มอัตราส่งน้ำและปรับรอบปั๊มเพิ่มขึ้น (ถ้าจำเป็นและเป็นไปได้)– ทำความสะอาดเช็ควาล์วปั๊มมีเสียงดังมาก- ใบพัดเสียหาย หรืออุดตัน – ตัวปั๊ม, ตัวส่งกำลังติดตั้งไม่ดี– มีฟองอากาศเกิดขึ้นในเส้นท่อ (Cavitation)- ทำความสะอาด เอาสิ่งสกปรกออกและเปลี่ยนส่วนที่เสียหาย– ตรวจการติดตั้งปั๊มให้ถูกต้อง– ตรวจหาและกำจัดแหล่งที่มาของฟองอากาศตลับลูกปืนร้อนเกินไป- ตลับลูกปืนมีอุณหภูมิสูงแต่ยังอยู่ในอัตราที่กำหนด – ขาดการหล่อลื่น หรือหล่อลื่นตลับลูกปืนน้อยไป – การเดินท่อและท่อส่ง ยังไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมกับการ ใช้งาน– เพลาขับไม่ได้ศูนย์- ตรวจอุณหภูมิของลูกปืนบ่อยๆ และติดตามดูว่าอุณหภูมิสูงกว่าขีดจำกัดหรือไม่– ตรวจสอบว่าการหล่อลื่นใช้อย่างถูกต้องและมีปริมาณตามระดับที่ระบุหรือไม่– ตรวจการวางท่อ และเส้นทาง เดินท่อใหม่ – ตั้งศูนย์ขับเคลื่อนใหม่  
สนใจสินค้า คลิ๊ก
ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
www.goodmanpumps.com/16603549/การตรวจสอบและการบำรุงรักษาปั๊ม