มอเตอร์มีกี่เเรง ? พร้อมวิธีอ่านเเรงม้าของมอเตอร์ ก่อนเลือกซื้อมาใช้งาน!

มอเตอร์มีกี่แรง ? คำถามนี้สำหรับคุณผู้ชายก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่สำหรับคุณผู้หญิงแล้ว คำถามนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างตอบยากและไม่เคยได้ให้ความสนใจกันมากนัก แต่ไม่ว่าจะเป็นคุณผู้หญิง หรือคุณผู้ชาย ถ้าหากคุณกำลังมองหามอเตอร์เพื่อช่วยในการสูบน้ำ วิดน้ำ หรือดึงน้ำต่างๆ มาใช้งานภายในบ้าน คุณก็ต้องหันมาทำความเข้าใจกับขนาดและแรงของมอเตอร์กันแล้ว เพื่อช่วยให้คุณได้เลือกซื้อมอเตอร์ได้อย่างถูกต้องไปใช้งานนั้นเอง

เรามาดูกันดีกว่าว่า จริงแล้วมอเตอร์คืออะไร? แล้วทำไมเราต้องทำความเข้าใจกับมอเตอร์ก่อนจะสั่งซื้อ ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมอเตอร์มาฝากทุกคนกัน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของมอเตอร์ วิธีดูแรงม้ามอเตอร์ การอ่านและการเลือกขนาดของมอเตอร์ปั๊มน้ำที่ถูกต้อง พร้อมวิธีการดูเเลรักษามอเตอร์ปั๊มน้ำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น จะมีข้อมูลมากน้อยแค่ไหน มาดูกันเลย…

เลือกอ่าน

“มอเตอร์มีกี่เเรง? พร้อมวิธีอ่านเเรงม้าของมอเตอร์ ก่อนเลือกซื้อมาใช้งาน!”

ข้อที่ 1

“มอเตอร์คืออะไร?”

ก่อนจะเริ่มทำความเข้าใจขนาดและประเภทของมอเตอร์รวมถึง มอเตอร์มีกี่แรง เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า มอเตอร์ที่เราเคยได้ยินกันมา คืออะไร? มอเตอร์มีกี่เเรง แล้วทำไมต้องใช้มอเตอร์ และมีหน้าที่อะไรบ้าง?

มอเตอร์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถเปลี่ยน พลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล โดยมอเตอร์แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วของมอเตอร์ จำนวนรอบของมอเตอร์ หรือกำลังที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งปั๊มน้ำของเราจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ในการดึงน้ำจากที่ต่ำไปยังที่สูง ยิ่งบ้านไหนมีหลายๆ ชั้น ยิ่งจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ปั๊มน้ำมากๆ

ข้อที่ 2

“มอเตอร์มีกี่ประเภท? ”

โดยมอเตอร์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ 

มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)

มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)
ที่ป้อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง เเล้วเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นต้นกำลังขับที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีคุณสมบัติที่เด่นในด้านการปรับความเร็วรอบ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องมีการปรับระดับการหมุนของมอเตอร์ เป็นต้น

มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor)

มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor)
เป็น มอเตอร์ที่ป้อนไฟฟ้ากระแสสลับเข้าไปเพื่อให้ได้พลังงานกลออกมา นิยมใช้งานทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดเล็กภายในบ้าน ไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมทุกประเภท เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง และสามารถต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยง่าย

ซึ่งมอเตอร์ปั๊มน้ำที่เราต้องการนำมาใช้งานนั้นจะอยู่ในประเภทมอเตอร์กระแสสลับนั้นเอง มีการจ่ายไฟผ่านไฟฟ้ากระแสสลับภายในบ้าน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่านั้นเอง

ข้อที่ 3

“วิธีอ่านแรงม้าของมอเตอร์ ”

หลายๆ คนคงเคยเข้าไปสำรวจในเว็บไซต์ หรือร้านค้าออนไลน์มาบ้างแล้ว เพื่อหาซื้อมอเตอร์ปั๊มน้ำที่มีความหลากหลาย แตกต่างกันออกไป แต่หลังจากสำรวจไปสักพักกลับต้องหยุดชะงัก เมื่อเจอเข้ากับสเปคของมอเตอร์ปั๊มน้ำที่มีระบุทั้ง แรงม้า และกิโลวัตต์ และข้อมูลอื่นๆ แต่วันนี้เราจะช่วยให้คุณเข้าใจสเปคเหล่านั้นของมอเตอร์ปั๊มน้ำกันด้วยตนเองเลย

ปั๊มน้ำฮอนด้าติดเครื่องยนต์ฮอนด้า 3 นิ้ว HONDA รุ่น : WB30XT
ปั๊มน้ำฮอนด้าติดเครื่องยนต์ฮอนด้า 3 นิ้ว HONDA รุ่น : WB30XT

โดยอันดับแรกเรามารู้จักกับค่าหน่วยต่างๆ ของมอเตอร์ปั๊มน้ำกันเลย ซึ่งก็จะมี…

  • วัตต์ (Watt) เป็นหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เช่น มอเตอร์ขนาดเล็ก 600 วัตต์ หมายความว่า มอเตอร์จะกินไฟ 600 วัตต์ต่อชั่วโมง “ยิ่งวัตต์มาก ยิ่งกินไฟมาก”
  • กิโลวัตต์ (Kilowatt) เป็นหน่วยวัดกำลังของไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ โดย 1 กิโลวัตต์ จะเท่ากับ 1,000 วัตต์ ถ้ามอเตอร์ใช้ไฟ 3 กิโลวัตต์ แสดงว่า มอเตอร์จะกินไฟ 3,000 วัตต์ต่อชั่วโมงนั้นเอง
  • แรงม้า (Horse Power) เป็นอัตราการทำงานที่นิยมใช้ในทางวิศวกรรม และงานช่างซึ่งแสดงถึงกำลังของเครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือเครื่องปั๊มน้ำ ที่ทำงานด้วยมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ ซึ่งมีหน่วยเรียกเป็น “แรงม้า”  โดย 1 แรงม้า จะเท่ากับ 0.7457 กิโลวัตต์ นั้นเอง
  • โวลต์ไฟฟ้า (Volt) เป็นหน่วยที่ใช้เรียก เพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ซึ่งประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้)
  • ท่อดูด จะเป็นท่อที่นำน้ำจากการดูดของปั๊มน้ำ เข้าสู่ตัวมอเตอร์ แล้วส่งไปตามท่อส่ง เพื่อแจกจ่ายสู่จุดต่างๆ ภายในบ้าน มีขนาดเป็น “นิ้ว”
  • ท่อส่ง คือ ท่อที่ต่อออกมาจากตัวมอเตอร์ หลังจากที่ดูดน้ำขึ้นมาแล้ว มอเตอร์จะปล่อยน้ำไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆ ภายในบ้าน ผ่านท่อส่งนี้ “ยิ่งม่อมีขนาดท่อที่เล็กมากเท่าไหร่ น้ำจะสามารถไหลเร็วมากขึ้น” แต่ก็ขึ้นอยู่กับแรงม้าของมอเตอร์ และจุดจ่ายน้ำอีกด้วย
  • อัตราการไหล (Flow rate) ปริมาตรของน้ำ ที่ไหลผ่านท่อ ไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆ ภายในบ้าน ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น “ลิตร/วินาที” หรือ “ลูกบาศ์กเมตรต่อชั่วโมง” เช่น อัตราการไหล 0 – 250 ลิตร/นาที ( 0 – 15 ลบ.ม./ชั่วโมง ) หมายความว่า มอเตอร์ปั๊มน้ำตัวนั้น สามารถส่งน้ำไปได้ ในปริมาตร 0 – 250 ลิตร ต่อ 1 นาที หรือ 0 – 15 ลูกบาศ์กเมตรต่อ 1 ชั่วโมงนั้นเอง
  • ระยะส่ง ระยะส่ง คือระยะทางที่มอเตอร์สามารถส่งน้ำไปได้ มีหน่วยเป็น “เมตร” ดังนั้น สำหรับบ้านไหนที่มีหลายชั้น ระยะส่งเป็นสิ่งที่คุณต้องคำนึงเช่นกัน เพราะถ้าซื้อมอเตอร์ปั๊มน้ำที่มีระยะส่งได้น้อยๆ จะทำให้ชั้นบนของบ้านน้ำขึ้นไปไม่ถึง หรือน้ำไหลช้านั้นเอง

เมื่อรู้จักหมดแล้วหน่วยต่างๆ แล้วเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จริงๆ แล้ว วัตต์ (W) กับกิโลวัตต์ (KW) มันเหมือนกัน ตามที่เราได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น ส่วนกิโลวัตต์ (KW) กับแรงม้า (HP) หน่วยของกำลังมอเตอร์สามารถเรียกได้ทั้งสองแบบ เพราะยังไงก็สามารถเปลี่ยนหน่วยได้ทั้งแรงม้า และกิโลวัตต์ โดยวิธีเปลี่ยนเราได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น สามารถย้อนขึ้นไปดูได้…

ข้อที่ 4

“เลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำให้ถูกต้อง ”

มอเตอร์มีกี่แรง เลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำให้ถูกต้อง

ในการเลือกซื้อมอเตอร์ปั๊มน้ำ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนนั้นก็คือ ขนาดของบ้าน ว่ามีกี่ชั้น แต่ละชั้นมีจุดจ่ายน้ำกี่จุด ซึ่งในที่นี้เราจะขอยกตัวอย่างการเลือกซื้อมอเตอร์ปั๊มน้ำสำหรับที่พักอาศัย โดยใช้หน่วยในการวัดเป็น วัตต์ (W) ดังนี้

  • บ้านไม่เกิน 2 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกัน 2 จุด = 100 W
  • บ้านไม่เกิน 2 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกัน 2 จุด + เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง = 150 W
  • บ้านไม่เกิน 3 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกัน 2 จุด + เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง = 200 W
  • บ้านไม่เกิน 4 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกัน 3 จุด + เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง = 250 W
  • บ้านไม่เกิน 4 ชั้น ใช้น้ำพร้อมกัน 3 จุด + เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง = 300 W

จะเห็นได้ว่า “ยิ่งมีการใช้น้ำพร้อมกันหลายจุด หรือมีบ้านหลายชั้น จะยิ่งทำให้ต้องแรงของมอเตอร์ที่ใช้ยิ่งมากขึ้น” ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าบางบ้านอาจจะใช้พร้อมกันหลายจุด ไหนจะซักผ้า ล้างจาน หรือรดน้ำต้นไม้ ไปพร้อมๆ กัน วิธีข้างบนก็คงไม่ได้ผลอีกต่อไป วันนี้ เราเลยมีวิธีคำนวณคร่าวๆ ว่าการจะเลือกมอเตอร์ให้เหมาะกับบ้านที่ใช้น้ำเยอะ ต้องคำนวณอย่างไร? โดยเราจะต้องสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้

1. ระยะส่งน้ำ (Suction Lift)

คือจำนวนชั้นของบ้านเรา ซึ่งเป็นระยะความสูงที่จะส่งน้ำขึ้นไป เช่น บ้าน 2 ชั้น แต่ละชั้นสูง 3.5 เมตร ถ้า 2 ชั้น = 7 เมตรนั้นเอง

2. ปริมาณน้ำที่ใช้พร้อมกัน (จำนวนก็อก)

เริ่มด้วยหา จำนวนก๊อกภายในบ้าน X ค่าเฉลี่ยการใช้น้ำ (8 ลิตร/นาที/ก็อก) = จำนวนน้ำที่ใช้ต่อ 1 นาที (Capacity L/min)

                ตัวอย่างเช่น ใช้น้ำ 3 ก๊อกพร้อมกันชั้นล่าง + 2 ก๊อกชั้นบน = 5 x 8  = 40 ลิตร/นาที นั้นเอง

3. เทียบตารางการเลือกปั๊มน้ำ (Motor watt) 

โดยรวมคำตอบที่เราได้หาไว้ นั้นก็คือ

  • ระยะส่งน้ำ 7 เมตร
  • ใช้น้ำพร้อมกัน 5 ก๊อก
  • โอกาสใช้น้ำพร้อมกัน 40 ลิตร/นาที

แล้วนำมาเทียบกับตารางการเลือกปั๊มน้ำข้างล่างนี้

มอเตอร์มีกี่แรง
แหล่งที่มา : phdtrading.com/products/pump_size_selection.pdf

เมื่อเทียบความไกล้เคียงกับตัวอย่างแล้ว มอเตอร์ที่เราควรเลือกใช้คือ มอเตอร์ปั๊มน้ำ ขนาด 250 วัตต์นั้นเอง จะเห็นได้ว่าการคิดคำนวณในการเลือกมอเตอร์ปั๊มน้ำที่ถูกต้อง และเหมาะกับคุณนั้น ไม่ยากอย่างที่คุณคิด!

มอเตอร์มีกี่แรง ปั๊มน้ำเอบาร่า EBARA รุ่น : CDXM 70/05 ( ไฟ 1 เฟส / 220 โวลต์)
มอเตอร์มีกี่แรง

มอเตอร์มีกี่แรง ปั๊มน้ำสแตค Stac Water pump รุ่น NF2-32-16/200

และสำหรับใครที่อ่านมาจนตรงนี้ แล้วยังไม่เข้าใจ ทำความเข้าใจเท่าไหร่ก็ยังไม่เคลียร์สักที Iconservice เราพร้อมให้คำปรึกษากับคุณ จากวิศวกรผู้มีประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมมากว่า 15 ปี พร้อมจำหน่ายสินค้า อุปกรณ์ และอะไหล่ต่างๆ ที่จำเป็นต่อกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดย่อม เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน และราคาย่อมเยาไว้สำหรับให้บริการโดยเน้นการบริการที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานเพื่อความประทับใจแก่ลูกค้า

ข้อที่ 5

“วิธีการดูเเลรักษามอเตอร์ปั๊มน้ำ”

  1. เลือกใช้ ถังแรงดัน ควบคู่กับปั๊มน้ำ เพื่อช่วยให้แรงดันน้ำมีความสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำได้นานยิ่งขึ้น
  2. หากปั๊มน้ำไม่ใช้งานนานๆ ควรเดรนน้ำออก ถอดปลั๊ก ปิดน้ำให้สนิททุกครั้ง หลังการใช้งาน เพื่อไม่ให้ปั๊มทำงานต่อเนื่องในขณะที่ไม่ใช้งาน
  3. ควรใช้กะละมังรองน้ำก่อนจะล้างทำความสะอาดสิ่งต่างๆ จะช่วยให้ไม่สิ้นเปลืองน้ำและไฟฟ้าในการปั๊มน้ำ
  4. ตรวจดูน๊อต-สกรูที่ตัวปั๊มน้ำ และที่ใบพัดของมอเตอร์ปั๊มน้ำเสมอ
  5. หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ที่ตัวปั๊มให้อยู่ในระดับที่กำหนด
  6. ควรตรวจเช็คลูกปืนและจาระบีสม่ำเสมอ ซึ่งเราสามารถรู้ได้ถึงความผิดปกติของลูกปืนจากการฟังเสียงของปั๊มน้ำตอนเริ่มเดินเครื่องว่ามีเสียงที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่
  7. ควรตรวจดูยอยโซ่หรือยอยยาง อย่าให้หลวมหรือตึงมากเกินไป
  8. ควรทำความสะอาด และรื้อถอนตัวปั๊ม เพื่อตรวจสภาพ 1 ครั้งในรอบ 3-5 ปี เพราะอุปกรณ์บางส่วนของปั๊มน้ำจะมีการสึกหรอ ทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำลดลง

ข้อที่ 6

“สรุป”

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆ คนคงได้ทำความเข้าใจกันแล้วว่า มอเตอร์มีกี่แรง วิธีดูแรงม้า และวิธีการเปลี่ยนหน่วยต่างๆ เเละหวังว่าบทความนี้ ที่เราได้รวบรวมข้อมูลมาแน่นๆ เพื่อให้คุณได้เลือกขนาดมอเตอร์ปั๊มน้ำให้ถูกต้องอย่างละเอียดยิบ พร้อมวิธีการดูเเลรักษามอเตอร์ปั๊มน้ำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น สาวๆ ทั้งหลายที่เคยมีปัญหาในการเลือกซื้อมอเตอร์ปั๊มน้ำในวันนั้น จะพร้อม
สั่งซื้อด้วยตัวเอ ในวันนี้แน่นอน!

บทความที่น่าสนใจ
” ใช้งานได้ไม่ถึงปี ทำไมปั๊มน้ำเสียบ่อย ต้นเหตุมาจากจุดไหนกันแน่? มาลองเช็คดูก่อนถึงมือช่าง! ”