เกร็ดความรู้ การติดตั้งปั๊มน้ำเอง ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง? และข้อควรระวังต่างๆ ที่ต้องรู้!

การติดตั้งปั๊มน้ำ เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้น้ำประปาในบ้านของเราไหลได้แรงขึ้น และมีแรงดันน้ำที่สม่ำเสมอ ทำให้การใช้น้ำภายในบ้านของเราทำได้สะดวกสบายง่ายกว่าไม่มีปั๊มน้ำ

อ่านมาถึงตรงนี้คงมีใครหลายคนที่ตอนนี้คิดจะซื้อปั๊มน้ำมาติดตั้งเพื่อแก้ปัญหาน้ำไหลช้าในบ้านตัวเองกันอยู่แน่ ๆ ใช่ไหมครับ ถึงแม้ใครหลายคนจะมองว่างานประปาเป็นงานช่างในบ้านที่จัดการได้ยากที่สุด แต่กับการติดตั้งปั๊มน้ำเองนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินมือ

บทความนี้  ICON SERVICE จะพาไปเรียนรู้วิธีการติดตั้งปั๊มน้ำเอง ว่าต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง พร้อมกับไปเรียนรู้ข้อควรระวังต่าง ๆ ที่ควรรู้

1. ปั๊มน้ำ คืออะไร

ปั๊มน้ำ คืออะไร

ปั๊มน้ำ (Water Pump) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการสูบและส่งน้ำด้วยระบบแรงดัน ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ตัวหนึ่งมีหน้าที่สูบน้ำ อีกตัวหนึ่งมีหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่สร้างแรงดัง เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ถ้าต้องการน้ำในปริมาณมาก แรงดันจะน้อย ถ้าหากต้องการน้ำน้อย แรงดันจะมาก ในการติดตั้งปั๊มน้ำเองในบ้านจะนิยมใช้เครื่องปั๊มน้ำอยู่ 2 แบบ ดังนี้

  1. ปั๊มน้ำแบบลูกสูบ ทำงานด้วยการชักลูกสูบเลื่อนไป-มา และมีวาล์วเปิด-ปิดน้ำเข้า-ออก จากลูกสูบ เป็นการเพิ่มแรงดันให้น้ำโดยตรง ข้อดี คือ ให้แรงดันน้ำสูง แต่มีข้อเสีย คือ จ่ายน้ำในปริมาณที่น้อย วัสดุสึกหรอได้ง่าย เพราะชิ้นส่วนทุกส่วนจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
  2. ปั๊มน้ำแบบใบพัด ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดในตัวปั๊มช่วยจ่ายน้ำไปตามท่อ ส่วนใหญ่มีท่อดูดทางด้านหน้าตรงกลางของปั๊ม และมีท่อออกด้านข้างในแนวเส้นสัมผัสกับตัวปั๊ม มีข้อดีคือขนาดเล็ก ทำงานง่าย ชิ้นส่วนไม่มาก จ่ายน้ำได้ปริมาณมาก  สร้างแรงดันน้ำได้มากพอควร ถ้าต้องการแรงดันสูง สามารถนำปั๊มน้ำอีกเครื่องมาต่อกันเพื่อเพิ่มแรงดันได้

2. สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการติดตั้งปั๊มน้ำเอง

สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการติดตั้งปั๊มน้ำเอง

ก่อนจะติดตั้งปั๊มน้ำเองภายในบ้านเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะติดตั้งแบบไหน โดยปกติจะมีสองแบบได้แก่ การติดตั้งปั๊มน้ำแบบมีถังน้ำและไม่มีถังน้ำ แต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ติดตั้งปั๊มแบบไม่ติดตั้งถังน้ำ

การติดตั้งแบบนี้เหมาะสำหรับบ้านชั้นเดียวหรือบ้าน 2 ชั้นที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป โดยเป็นการติดตั้งที่จะดันน้ำจากปั๊มไปยังถังอื่น ๆ หรือพื้นที่เก็บน้ำที่สร้างไว้ในบ้าน 

ข้อดีคือประหยัด แรงดันน้ำสูง ข้อเสียคือ การต่อท่อที่ไม่ดีหรือเปิดปั๊มทิ้งไว้ทำให้น้ำไหลกระจายแรงออกสู่ทุกทาง เสี่ยงต่อข้อต่อหลุดได้ ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการต่อสายท่อออกมาจากปั๊ม เพื่อสร้างทางเดินน้ำพิเศษลดแรงดันของน้ำ

2.2 ติดตั้งปั๊มน้ำแบบติดตั้งถังน้ำ

เหมาะกับการติดตั้งปั๊มน้ำบนบ้านที่มากกว่า 2 ชั้น หอพัก โรงแรม ตึก หรืออาคารสูง ๆ การติดตั้งแบบนี้เครื่องปั๊มน้ำจะทำงาน 2 หน้าที่เป็นหลัก หน้าที่แรกคือการสูบน้ำมาเติมให้เต็มถัง หน้าที่ที่สองคือการปล่อยแรงดันกระจายน้ำไปยังที่ต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัยที่ต้องการใช้น้ำ

นอกจากนี้ความพิเศษของการใช้ถังน้ำหรือถังพักน้ำ คือ การที่เราไม่ได้ต่อสายตรงกับเข้ากับท่อของการประปา ซึ่งทำให้เราไม่ไปแย่งน้ำจากบ้านอื่นเข้ามาบ้านเรา ไม่สร้างความลำบากให้คนอื่น

อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายกับท่อประปาด้านนอก ถ้าเกิดท่อมีรูรั่ว ปั๊มน้ำจะดูดสิ่งสกปรกเข้ามาในบ้าน และอาจทำให้ปั๊มเสียหายจากสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้ามา จึงไม่ควรต่อปั๊มน้ำตรงกับท่ออย่างเด็ดขาด

ข้อดีของการติดตั้งแบบมีถังน้ำ คือ ได้แรงดันน้ำแรงกำลังดีสม่ำเสมอกันทุกที่ เพราะมีน้ำสำรองเก็บไว้ ป้องกันสิ่งสกปรกและความเสียหายของตัวปั๊ม ข้อเสีย คือ หากน้ำหมดต้องรอปั๊มสูบน้ำให้เต็มถังจึงจะใช้ได้ และมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าแบบไม่ติดตั้งถัง

หากสนใจปั๊มน้ำพร้อมติดตั้งแบบบ้าน 2 ชั้น แล้วต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลต่อได้ที่บทความนี้เลยครับ ปั๊มน้ำบ้านสองชั้น เลือกยี่ห้อไหนดี? ใช้ปั๊มน้ำกี่วัตต์ถึงหมดปัญหาน้ำไหลไม่แรง

3. วิธีการติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง

 วิธีการติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง

ต่อไปเราจะมาแนะนำวิธีการติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง โดยในวันนี้เราจะขอเสนอวิธีการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำแบบมีถังน้ำ เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่า แต่ละขั้นตอนจะมีรายละเอียดอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

3.1 หาที่ตั้งถังน้ำ

สำหรับบ้านที่ต้องการติดตั้งเครื่องปั๊มแบบมีถังน้ำ เราจะต้องหาที่ตั้งถังน้ำก่อน ซึ่งมีทั้งแบบตั้งบนดินกับแบบฝังดิน แบบตั้งบนดินจะเป็นที่นิยมและทำได้ง่ายกว่า เพราะแบบฝังดินนั้นจะค่อนข้างดูแลลำบาก เมื่อเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นกับถังน้ำจะแก้ไขได้ยาก

สำหรับบ้านทาวน์เฮ้าส์การเลือกที่ตั้งถังน้ำไม่ยากเลย ปกติจะเลือกติดตั้งกันที่หน้าบ้านหรือไม่ก็เป็นหลังบ้าน  แต่ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวก็มีที่ให้เลือกมากขึ้น  ตามหลักการแล้วถังน้ำควรจะอยู่ใกล้มิเตอร์น้ำมากที่สุดเพราะจะได้สะดวกในการรับน้ำมาเก็บในถัง

ที่สำคัญมากๆ คือถังน้ำควรวางอยู่บนฐานคอนกรีตที่แข็งแรงเพราะต้องรับน้ำหนักมากพอสมควร  และควรอย่างยิ่งที่จะต้องฝังเสาเข็มสั้นใต้ฐานคอนกรีตนั้น  โดยเข็มสั้นต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งติดกับตัวบ้านจะดีที่สุด

3.2 การต่อปั๊มน้ำ

การติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง และการต่อปั๊มน้ำ

เราควรที่จะติดตั้งปั๊มน้ำไว้ใกล้กับถังน้ำ เพื่อเดินสายระบบให้ทิศทางของน้ำที่ออกจากเครื่องปั๊ม เข้าไปยังถังโดยตรง และต่อท่อจากอีกฝั่งของปั๊มน้ำเพื่อส่งน้ำจากถังให้กระจายไปสถานที่ต่าง ๆ ของบ้าน

จากนั้นก็ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับจ่ายไฟให้เครื่องปั๊ม โดยแรงดันทั่วไปที่อุปกรณ์ประปาต้องการจะอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมตร เพื่อให้น้ำไหลได้ในอัตราที่ต้องการ 


สิ่งสำคัญคือควรติดตั้งปั๊มน้ำบนฐานรอง วางปั๊มให้สูงจากพื้นเล็กน้อย เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง ลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว และตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 10 ซม. หรือประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้ตัวปั๊มไม่ร้อนมาก ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

3.3 การติดตั้งวาลว์น้ำ

วาลว์น้ำ คือ อุปกรณ์ควบคุมให้น้ำไหลในทิศทางย้อนกลับได้ ซึ่งช่วยให้น้ำประปาไหลแรงขึ้น โดยปกติจะมีการติดตั้งตั้งแต่ 2 ระบบ ไปจนถึง 4 ระบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

ข้อควรระวังในการติดตั้งปั๊มน้ำ

การติดตั้งปั๊มน้ำเองสามารถทำได้ที่บ้าน ถึงแม้จะไม่ยากจนเกินไปแต่ก็มีหลายสิ่งที่ควรระวัง ต่อไปนี่คือเกร็ดความรู้ ที่ควรรู้ก่อนติดตั้งปั๊มน้ำด้วยตัวเอง

  • การติดตั้งท่อน้ำกับตัวปั๊มน้ำ ควรติดตั้งให้ได้ระดับพอดีกันกับแนวเกลียว หรือข้อต่อของปั๊มเนื่องจากเวลาที่ปั๊มน้ำทำงาน จะมีการสั่นเล็กน้อย หากท่อน้ำวางไม่ได้ระดับกับข้อต่อของปั๊ม อาจทำให้ท่อแตกร้าวได้
  • ท่อดูดและท่อจ่ายน้ำของปั๊ม ควรมีขนาดเท่ากับจุดต่อท่อของตัวปั๊ม ไม่ควรเล็กกว่า เพราะการใช้ท่อที่เล็กกว่านั้น จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น
  • การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับปั๊ม ควรเลือกขนาดสายที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่ปั๊มใช้ได้เพียงพอ ถ้าใช้สายเล็กจะทำให้สายร้อนและละลายได้
  • ควรติดตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่ควรมีจุดตัดต่อที่กลางสาย
  • ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกในการซ่อม 
  • เบรกเกอร์ ต้องมีขนาดตามมาตรฐานของปั๊มน้ำแต่ละรุ่นกำหนดไว้   รวมทั้งต้องมีระบบสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว
  • ถ้าต้องเดินสายไฟฟ้านอกอาคารไปยังปั๊ม ควรเดินสายไฟโดยการร้อยในท่อ  PVC สีเหลือง ซึ่งใช้สำหรับเดินสายไฟนอกอาคาร
  • การติดตั้ง ซ่อมแซม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง และตัดไฟฟ้าก่อนทำการซ่อม-ติดตั้งทุกครั้ง หากไม่พร้อมที่จะติดตั้งด้วยตัวเองสามารถติดต่อ ICON SERVICE เพื่อรับบริการติดตั้งปั๊มน้ำถึงบ้านแบบครบวงจร พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานอย่างละเอียด โดยติดต่อเข้ามาในช่องทางติดต่อของ ICON SERVICE ได้เลยครับ

4. สรุป

การติดตั้งปั๊มน้ำเอง เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ที่บ้าน โดยเราจะต้องประเมินลักษณะของบ้านและการใช้งานน้ำของเราก่อนว่าเป็นแบบไหน เพื่อให้เราสามารถเลือกอุปกรณ์ติดตั้งปั๊มน้ำได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

อย่างไรก็ตามการติดตั้งปั๊มน้ำยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของระบบไฟฟ้า หากไม่พร้อมที่จะติดตั้งด้วยตัวเองก็สามารถเรียกใช้บริการติดตั้งปั๊ม เพื่อให้การติดตั้งปั๊มน้ำของเราเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยมากที่สุด


บทความแนะนำ

[ใหม่ล่าสุด] 5 เครื่องฟอกอากาศ ยี่ห้อไหนดี ปี 2022 ฟอกอากาศดีเยี่ยม การันตีจากผู้ใช้จริง บทความนี้มีคำตอบ